วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติอำเภอ
อำเภอศรีสาคร เดิมมีชื่อว่า “ซากอ” เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ซึ่งคำว่า “ซากอ” เป็นภาษาท้องถิ่น ใช้เรียกชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง มีดอกสีแดง มีอยู่จำนวนมากในบริเวณเขตพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งมีประโยชน์ทั้งต้น ในปัจจุบันได้ถูกตัดทำลายจนหมดสิ้น
ในปี พ.ศ. 2506 หน่วย กรป.กลาง ได้เข้ามาดำเนินการจัดตั้งหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ (นพค.) ในพื้นที่แห่งนี้เป็นเวลาประมาณ 11 ปี จนถึง พ.ศ. 2517 ตำบลซากอ ซึ่งเป็นตำบลหนึ่ง ขึ้นกับการปกครองของอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส มีความเจริญขึ้นในทุก ๆ ด้าน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จึงได้แต่งตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ โดยใช้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอศรีสาคร” ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่านตอนกลางของกิ่งอำเภอศรีสาคร ทำให้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เดิมกิ่งอำเภอศรีสาครแบ่งการปกครองออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลซากอ และตำบลศรีสาคร ซึ่งในขณะนั้นมีนายมะลิ สุบิน ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ หัวหน้ากิ่งอำเภอศรีสาคร
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2522 ได้มีประกาศในราชกฤษฎีกา ยกฐานะกิ่งอำเภอศรีสาคร ขึ้นเป็นอำเภอศรีสาคร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลซากอ ตำบลศรีสาครและตำบลตะมะยูง และต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม 2529 ได้ขยายเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล คือ ตำบลซากอ ตำบลตะมะยูง ตำบลศรีสาคร ตำบลเชิงคีรี ตำบลกาหลงและตำบลศรีบรรพต โดยมีนายไพโรจน์ จริตงาม ดำรงตำแหน่งนายอำเภอศรีสาคร คนปัจจุบัน

ที่ตั้ง / พื้นที่ / อาณาเขต
อำเภอศรีสาคร เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดนราธิวาส ระยะทางจากตัวจังหวัดนราธิวาสถึงอำเภอศรีสาคร ประมาณ 68 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 1,268 กิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอศรีสาคร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ถนน กรป.รังสรรค์ ตำบลซากอ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอบันนังสตร จังหวัดยะลา

จำนวนพื้นที่ ประชากร ศาสนาและวัฒนธรรม
อำเภอศรีสาคร มีพื้นทีทั้งหมด 502.87 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 28,978 คน แบ่งเป็นชาย 14,820 คน และหญิง 14,158 คน (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2550) ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอศรีสาคร นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 84.50 นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 15.50 ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้
สำหรับการใช้ภาษา นิยมใช้ภาษาท้องถิ่น “ภาษามลายูท้องถิ่น” ในชีวิตประจำวัน

ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ และภูเขาสลับซับซ้อน เป็นแนวเขตของป่าบาลาฮาลา มีที่ราบสูงทางทิศตะวันออกอยู่ในตำบลศรีบรรพต และตำบลเชิงคีรี บางส่วนประกอบด้วยพื้นที่ป่าไม้เป็นจำนวนมาก มีแม่น้ำสายบุรีเป็นแม่น้ำหลัก ไหลผ่านกลางพื้นที่อำเภอตลอดแนว โดยมีต้นสายของแม่น้ำอยู่ที่อำเภอสุคิริน ผ่านอำเภอจะแนะ อำเภอศรีสาคร สุดสายที่อำเภอสายบุรี

ลักษณะภูมิอากาศ
อำเภอศรีสาคร มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน แบ่งเป็น 2 ฤดู ได้แก่
1. ฤดูฝน มีฝนตกชุกอยู่ 2 ช่วง คือ เดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม และช่วง
เดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคม
2. ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดวัดได้
27.81 องศาเซลเซียส

ประชากร
ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 28,978 คน เป็นชาย 14,820 คน เป็นหญิง 14,158 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่ 58 คน : ตารางกิโลเมตร
- ในเขตเทศบาล เท่ากับ 787 คน : ตารางกิโลเมตร
- นอกเขตเทศบาล เท่ากับ 50 คน : ตารางกิโลเมตร

ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 84.50 และศาสนาพุทธร้อยละ 15.50
นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ 23,940 คน
นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 4,392 คน

สภาพทางการเมืองการปกครอง
อำเภอศรีสาคร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 35 หมู่บ้าน
1. ตำบลซากอ จำนวนหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน
2. ตำบลตะมะยูง จำนวนหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน
3. ตำบลศรีสาคร จำนวนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน
4. ตำบลเชิงคีรี จำนวนหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน
5. ตำบลกาหลง จำนวนหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน
6. ตำบลศรีบรรพต จำนวนหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน

ส่วนราชการสังกัดภูมิภาค
จำนวน 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย
1. ที่ทำการปกครองอำเภอศรีสาคร
2. สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสาคร
3. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีสาคร
4. สำนักงานที่ดินอำเภอศรีสาคร
5. สรรพากรเขตพื้นที่อำเภอศรีสาคร
6. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีสาคร

ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อส่วนราชการโดยตรง แต่มีที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอ
จำนวน 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย
1. สถานีตำรวจภูธรศรีสาคร
2. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอศรีสาคร
3. โรงพยาบาลอำเภอศรีสาคร

ส่วนราชการหน่วยกำลังในพื้นที่
จำนวน 10 หน่วยงาน ประกอบด้วย
1. หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 37
2. กองร้อยทหารราบที่ 1741
3. กองร้อยทหารราบที่ 1742
4. กองร้อยทหารราบที่ 1743
5. กองร้อยทหารราบที่ 1744
6. หน่วยพัฒนาสันติ 371 ไอร์กือเดร์
7. หน่วยพัฒนาสันติ 372 ไอร์กือเนาะ
8. หน่วยพัฒนาสันติ 373 ไอร์จูโจ๊ะ
9. หน่วยพัฒนาสันติ 375 ดาฮง
10.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย
1. เทศบาลตำบลศรีสาคร หมู่ที่ 1 ตำบลซากอ
2. องค์การบริหารส่วนตำบลซากอ หมู่ที่ 4 ตำบลซากอ
3. องค์การบริหารส่วนตำบลตะมะยูง หมู่ที่ 3 ตำบลตะมะยูง
4. องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร หมู่ที่ 5 ตำบลศรีสาคร
5. องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงคีรี หมู่ที่ 2 ตำบลเชิงคีรี
6. องค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง หมู่ที่ 1 ตำบลกาหลง
7. องค์การบริหารส่วนตำบลศรีบรรพต หมู่ที่ 2 ตำบลศรีบรรพต

สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
จำนวน 1 คน ประกอบด้วย
1. นายกอเซ็ง สะอะ

นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จำนวน 7 คน ประกอบด้วย
1. นายมูฮัมมัด เจ๊ะคอ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสาคร
2. นายอับดุลกอเดร์ อาบูซาแล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลซากอ
3. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะมะยูง
4. นายดอเล๊าะ ยูโซ๊ะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร
5. นายสมาน แตบาตู นายกองค์การบริหรส่วนตำบลเชิงคีรี
6. นายพชร พ่วงแจงงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง
7. นายเจ๊ะแน เจ๊ะอาบะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบรรพต

ธนาคาร
จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาศรีสาคร

โครงสร้างพื้นฐาน
1. ไฟฟ้า
2. ประปา
3. โทรศัพท์

การคมนาคม การติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมในตำบลและหมู่บ้าน
มีรายละเอียดดังนี้
1. ทางหลวงแผ่นดิน
2. ทางหลวงชนบท สายบ้านคลองหงษ์
3. ทางหลวงชนบท สายบ้านจือแรง - บ้านลาโล๊ะ
4. ทางหลวงชนบท สายบ้านตะมะยูง - บ้านจือแรง
5. ทางหลวงชนบท สายบ้านลูโบ๊ะบาตู - บ้านตะมะยูง
6. ทางหลวงชนบท สายบ้านลาโล๊ะ - บ้านคลองหงษ์
7. ทางหลวงชนบท สายบ้านซากอ - บ้านตืองอ
8. ทางหลวงชนบท สายบ้านคอลอกาเว - บ้านไอร์กาแซ
9. ทางหลวงชนบท สายบ้านคอลอกาเว - บ้านกาหลง

แหล่งน้ำ
มีแม่น้ำไหลผ่าน จำนวน 3 สาย
ฝาย จำนวน 20 แห่ง

เศรษฐกิจ
อาชีพหลัก 1. สวนยางพารา ประมาณร้อยละ 37.94
2. ไม้ผล ไม้ยืนต้นและพืชผัก ประมาณร้อยละ 13.94
3. ข้าวและไร่นาสวนผสม ประมาณร้อยละ 0.53
พืชเศรษฐกิจ คือ ลองกอง , ทุเรียน , เงาะ , ยางพารา
สัตว์เศรษฐกิจ คือ โค , แพะ , ไก่ , เป็ด

อุตสาหกรรม
1. โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยางแผ่น จำนวน 1 แห่ง
2. โรงสีข้าว (ขนาดเล็ก)

สหกรณ์
1. ธุรกิจสินเชื่อ มีทุนหมุนเวียนปีละประมาณ 6,500,000.00 บาท
2. ธุรกิจค้าขาย (ขายอุปกรณ์การเกษตร) มีทุนหมุนเวียนปีละประมาณ 1,200,000.00 บาท
3. ธนาคารชุมชน มีทุนหมุนเวียนปีละประมาณ 500,000.00 บาท

ผลิตภัณฑ์โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
1. ลองกอง หมู่ที่ 5 ตำบลซากอ
2. ไม้กวาดดอกหญ้า หมู่ที่ 5 ตำบลซากอ
3. ผ้าคลุมผมสตรี หมู่ที่ 8 ตำบลศรีสาคร
4. สับปะรด หมู่ที่ 3 ตำบลตะมะยูง
5. ปลาทับทิม หมู่ที่ 4 ตำบลเชิงคีรี
6. สวนสมุนไพร หมู่ที่ 1 ตำบลกาหลง
7. ข้าวเกรียบผลไม้ หมู่ที่ 1 ตำบลกาหลง
8. ไม้กวาดดอกหญ้า หมู่ที่ 3 ตำบลกาหลง
9. ล่องแก่ง อบต.ศรีบรรพต หมู่ที่ 3 ตำบลศรีบรรพต

การท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่
1. โครงการล่องแก่งสันกาลาคีรี
2. น้ำตกไอร์กือดอ
3. สวนสมุนไพรนิคมสร้างตนเองศรีสาคร

โครงการพระราชดำริ
โครงการฝายไอร์ดาฮง หมู่ที่ 4 ตำบลเชิงคีรี
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
- โรงเรียนบ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลกาหลง
- โรงเรียนบ้านคีรีราษฎร์รังสฤษฏ์ หมู่ที่ 4 ตำบลกาหลง
- โรงเรียนบ้านปาหนัน หมู่ที่ 4 ตำบลศรีสาคร
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านละโอ หมู่ที่ 2 ตำบลศรีบรรพต
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีบรรพต
โครงการส่งเสริมปศุสัตว์ในโรงเรียน
- โรงเรียนบ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลกาหลง
- โรงเรียนบ้านคีรีราษฎร์รังสฤษฏ์ หมู่ที่ 4 ตำบลกาหลง
- โรงเรียนบ้านปาหนัน หมู่ที่ 4 ตำบลศรีสาคร
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านละโอ หมู่ที่ 2 ตำบลศรีบรรพต
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีบรรพต
โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาเพื่อเป็นอาหารกลางวันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาหลง
หมู่ที่ 1 ตำบลกาหลง
โครงการส่งเสริมสหกรณ์โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านละโอ หมู่ที่ 2 ตำบลศรีบรรพต
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีบรรพต
โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า สวนป่า พระนามาภิไธยภาคใต้
พื้นที่ส่วนที่ 2 (ป่าบาลา – ฮาลา) ตำบลกาหลง
โครงการส่งเสริมการปลูกหวาย หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลกาหลง
โครงการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติเหนือฝายไอร์ดาฮง 2
โครงการฝึกอาชีพในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านละโอ หมู่ที่ 2 ตำบลศรีบรรพต
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีบรรพต
โครงการพัฒนาเด็กเล็กตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิรินธร หมู่ที่ 1 ตำบลกาหลง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลกาหลง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันคีรี หมู่ที่ 3 ตำบลกาหลง
โครงการทำนาข้าวขั้นบันได ตำบลกาหลง
โครงการปลูกพืชสมุนไพร นิคมสร้างตนเองศรีสาคร
โครงการธนาคารข้าว บ้านสายบน หมู่ที่ 3 ตำบลกาหลง
โครงการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หมู่ที่ 1 ตำบลกาหลง
โครงการปลูกไผ่สีสุก หมู่ที่ 1 , 2 และ 3 ตำบลกาหลง
โครงการจักสานย่านลิเภา
โครงการแกะสลักไม้
โครงการทอผ้า
โครงการปักผ้า

สภาพด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ด้านการศึกษา
อำเภอศรีสาคร มีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รวม 46 แห่ง โดยแยกได้ดังนี้
จำนวนสถานศึกษา
1. สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
- สพฐ. จำนวน 19 แห่ง
- ตชด. จำนวน 2 แห่ง
- กศน. จำนวน 1 แห่ง
2. การศึกษาอื่น ๆ
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนการแผนกรวม จำนวน 2 แห่ง
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด มัสยิด จำนวน 14 ศูนย์
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 7 ศูนย์ ประกอบด้วย
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสิรินธร หมู่ที่ 1 ตำบลกาหลง
มีเด็กอยู่ในการดูแลจำนวน 35 คน
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลกาหลง
มีเด็กอยู่ในการดูแลจำนวน 30 คน
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันคีรี หมู่ที่ 3 ตำบลกาหลง
มีเด็กอยู่ในการดูแลจำนวน 50 คน
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสาคร หมู่ที่ 6 ตำบลซากอ
มีเด็กอยู่ในการดูแลจำนวน 45 คน
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอร์จูโจ๊ะ หมู่ที่ 7 ตำบลศรีสาคร
มีเด็กอยู่ในการดูแลจำนวน 54 คน
6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปาหนัน หมู่ที่ 4 ตำบลศรีสาคร
มีเด็กอยู่ในการดูแลจำนวน 30 คน
7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตืองอ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีบรรพต
มีเด็กอยู่ในการดูแลจำนวน 63 คน
- ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 21 แห่ง

สาธารณสุข
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
- โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง
- สถานีอนามัย จำนวน 7 แห่ง
บุคลากรทางการแพทย์ ประกอบด้วย แพทย์ 2 คน , ทันตแพทย์ 1 คน , เภสัชกร 2 คน , พยาบาล 25 คน , เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5 คน , เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1 คน

การรักษาความสงบเรียบร้อย
- กองกำลังตำรวจที่ประจำอยู่ ณ สถานีตำรวจภูธรศรีสาคร จำนวน 149 คน
- ผรส. จำนวน 47 คน
- อปพร. จำนวน 154 คน
- อส. จำนวน 96 คน
- ลส.ชบ. จำนวน 400 คน
- ทส.ปช. จำนวน 100 คน
- ชรบ. จำนวน 1,050 คน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. ทรัพยากรดิน ในพื้นที่อำเภอศรีสาคร มีทรัพยากรดินที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะทำการเกษตร ซึ่งเป็นดินดำผสมดินร่วน และมีแร่ธาตุสารอาหารที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งดินดำที่สามารถนำไปผลิตเครื่องปั้นดินเผา
2. ทรัพยากรป่าไม้ อำเภอศรีสาคร อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้หลากหลายชนิด และยังเป็นแนวเขตป่าฮาลา – บาลา ยังมีโครงการทำไม้กระยาง ซึ่งตลอดระยะเวลาปลายปีที่ผ่านมา ได้มีการบุกรุกและทำลายป่าเพื่อใช้ที่ดินในการจัดทำที่ดินทำกิน และมีกลุ่มคนบางคนหาประโยชน์จากไม้ โดยการลอบทำลายและลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทางอำเภอได้ทำการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ และดำเนินการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทำให้ปัญหาดังกล่าวลดน้อยลง ปัจจุบันปัญหาการทำลายป่าในเขตพื้นที่อำเภอศรีสาคร ไม่มีให้เห็นอีกแล้ว เพราะได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ และในพื้นที่อำเภอศรีสาคร มีต้นไม้ที่สำคัญ เช่น ตะเคียนชันตาแมว , ไม้มะม่วงป่า , ไม้หลุมพอ , ไม้จำปาและไม้ชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย